ภาษาภูไท

ภาษาภูไทย
ลักษณะเด่นอื่น ๆ ของภาษาผู้ไท มีดังนี้
  • เสียงท้ายคำถาม
    • เผอ, ผิเหลอ, ผะเหลอ = อะไร
    "ผะเหลอนี่หน่า" = นี่คืออะไร
    "เว้าผะเหลอว่ะ" = พูดอะไรน่ะ
    "จักผะเหลอ" = ไม่รู้อะไร
    • เผ่อ, ผู้เหล่อ = ใคร
    "แม้ล่ะไป๋เหย้มเผ่อ" = แม่จะไปเยี่ยมใคร
    "ผู้เหล่อล่ะไป๋กับข้อยแด่" = ใครจะไปกับผมบ้าง
    • สิเหล่อ,เนอะเห่อ,ม่องเลอ = ที่ไหน
    "เพิ้น ล่ะ ไป๋ สิ เหล่อ" = เขาจะไปไหน
    "เจ้าอยู่ม่องเลอหว่ะ" = คุณอยู่ที่ไหนน่ะ
    • มิ = ไม่
    "ไป๋ฮึมิไป๋" = ไปหรือไม่ไป
    "มิได้" = ไม่ได้,ไม่มี
  • สระประสมในภาษาไทยถิ่นอื่น มักเป็นสระเดี่ยวในภาษาผู้ไท
    • สระ เอีย เป็น เอ
    กระเทียม - กะเท่ม
    โรงเรียน - โฮงเฮน,โลงเลน
    • สระ เอือ เป็น เออ
    น้ำเชื่อม - นั้มเซิ้ม
    ใส่เสื้อ - เส่อเส้อ
    • สระ อัว เป็น โอ
    กล้วย - โก๊ย
    • สระใอ (ไม้ม้วน) ในภาษาไทกลาง เมื่อพูดในภาษาผู้ไท มักออกเสียงสระเออ ดังนี้
    ใหม่-เหม่อ
    ใส่-เส่อ
    หัวใจ-โหเจ๋อ
    ใกล้-เข้อ, เก้อ
    แกงมะเขือใส่เนื้อเสือ กินบนเรือ เพื่อกลับบ้าน-แกงมะเขอเส่อเน้อเสอ กินเทิงเฮอ เพ้อเมอเฮิน
    • สระไอ (ไม้มลาย) ในภาษาไทยกลาง จะออกเสียง จัตวา (+)ในสำเนียงภูไท ดังนี้
    ไป-ไป๋,
  • ข บางคำจะออกเสียงเป็น ห, ค บางคำจะออกเสียงเป็น ฮ ดังนี้
    • เข้า-เห้า, ข้า-ห้า, ค้าขาย-ฮ้าหาย
    • คนห้าคนฆ่าคนห้าคน-ฮนห้าฮนห้าฮนห้าฮน
  • คำที่สะกดด้วย -อก จะออกเสียงสระเอาะ (เสียงสั้น) ดังนี้
    • นอก-เน้าะ, จอก-เจ้าะ, คอก-เค่าะ, ปลอก-เป๊าะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น