ลักษณะของเรือนทรงสูงของชาวผู้ไทยบ้านโนนยาง อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร
เรือนแบบทรงสูง เป็นเรือนผู้ไทยแบบดั่งเดิม จะยกพื้นสูงทั้งนี้เพราะในอดีตในบางพื้นที่จะเป็นที่ราบลุ่มเพื่อป้องกันน้ำท่วม และป้องกันสัตว์ร้ายต่าง ๆ เพราะในอดีตเป็นป่าดงดิบ เพื่อประโยชน์ในการเลี้ยงสัตว์และเป็นพื้นที่หัตถกรรมในครอบครัว
.
.
ลักษณะของโครงหลังคา และวัสดุมุงหลังซึ่งทำจากไม้
.
.
หน้าจั่วหรือ "ป้านลม"
.
วัสดุที่นำมาสร้างเรือนแบบทรงสูงจะทำจากไม้ทั้งหมด เริ่มจากเสาไม้เนื้อแข็งทั้งต้นมีขนาดใหญ่อาจถากเป็นเสากลมหรือเสาเหลี่ยมตามสภาพการใช้งาน เช่นเดียวกันกับโครงหลังคาจะทำจากไม่เนื้อแข็ง มุงด้วยหญ้าคาหรือใช้ไม้เนื้อแข็งที่เรียกว่า “แป้นมุง” ส่วนรูปแบบของหลังคาอาจเป็นจั่วเดี่ยวหรือจั่วสองหลังติดกันที่เรียกว่าเรือนแฝด โดยมีลักษณะโดดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์คือ“ป้านลม” จะนิยมตกแต่งโดยการแกะสลักไม้เป็นลวดลายต่าง ๆ ไว้อย่างสวยงาม ส่วนการยึดส่วนต่าง ๆ ของบ้านจะใช้สลักไม้ สลักเหล็ก ตามความเหมาะสม
.
ฝาขัดแตะสานจากไม้ไผ่
.
สำหรับฝาบ้านจะใช้ไม่เนื้อแข็งโดยเลื่อยเป็นแผ่นตามความยาว แล้วนำมาตียึดตามแนวนอน ส่วนฝาบ้านอีกลักษณะหนึ่งจะเรียกว่า“ฝาขัดแตะ” โดยนำไม่ไผ่มาสานเป็นเป็นแผ่นขนาดใหญ่ หรืออาจสานเป็นลายห่าง 2 แผ่น แล้วนำใบตองกุงมาวางซ้อนอยู่ข้างในเรียกว่า “ฝาใบตองกุง”
.
ฟากไม้ไผ่
.
ส่วนพื้นทำจากไม้เนื้อแข็งหน้ากว้างปูเป็นแนวยาวของเรือน หรืออาจใช้ไม้ไผ่ที่เรียกว่า “ฟากไม้ไผ่” ฝากไม้ไผ่จะใช้ในเรือนขนาดเล็ก หรือเถียงนาสำหรับการพักอาศัยในฤดูกาลทำนา
.
.
เรือนผู้ไทยแบบทรงสูงจะใช้บันไดหรือ “กะได” เพื่อขึ้นสู่ตัวเรือน จะมีลักษณะเป็นบันได้เจาะไม่มีราวสามารถเคลื่อนย้ายได้
.
เรือนแบบทรงสูง 2 ชั้น เป็นเรือนผู้ไทยแบบประยุกต์ในยุคต่อมา มีการก่อสร้างหลังปี 2500 เป็นต้นมา ลักษณะของโครงสร้างจะเป็นจั่วแหลม มุงด้วยสังกะสีหรือกระเบื้อง ส่วนมากจะเป็นบ้านของผู้มีฐานะในหมู่บ้าน เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือผู้ที่ประกอบอาชีพค้าขายในหมู่บ้าน
เรือนผู้ไทยแบบทรงต่ำ เป็นเรือนพักอาศัยที่ปลูกสร้างภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้รับอิทธิพลจากฝรั่งเศสคล้าย ๆ กับตึกดิน โดยฝีมือของช่างชาวญวนอพยพ ลักษณะของรูปทรงของบ้านจะคล้ายเพิงหมาแหงนยกพื้นสูงหรือใช้พื้นดิน ซึ่งส่วนมากจะเป็นร้านขายสินค้าในชุมชน
ลักษณะของเรือนพักอาศัยของชาวผู้ไทยในอดีต จึงเน้นในเรื่องของประโยชน์ในการใช้สอยเป็นหลัก
หากศึกษารายละเอียดของเรือนผู้ไทยแบบทรงสูง โดยทั่วไปจะมีส่วนประกอบที่น่าสนใจดังนี้ คือ
เรือนใหญ่ เป็นเรือนที่พักอาศัยของสมาชิกในครอบครัว โดยจะมีการแยกห้องเป็นสัดส่วนของสมาชิกในครอบครัว ใต้ถุนจะใช้เป็นที่ตำข้าว คอกสัตว์เลี้ยง เครื่องมือการเกษตร ตลอดทั้งเป็นที่ทำงานหัตถกรรมในครัวเรือนของแม่บ้าน ลักษณะโดดเด่นของของเรือนใหญ่ก็คือ “ป้านลม” ซึ่งจะตกแต่งโดยการแกะสลักไม้เป็นลวดลายต่าง ๆ ภายในหน้าจั่ว
เรือนใหญ่สำหรับการพักอาศัยของสมาชิกในครอบครัว
เรือนเกยเป็นเรือนพักที่ต่อจากเรือนใหญ่ที่ยื่นออกมาในลักษณะเป็นเพิงหมาแหงน
เรือนเกย หรือ “กระเถิบ” เป็นเรือนพักที่ต่อจากเรือนใหญ่ที่ยื่นออกมาในลักษณะเป็นเพิงหมาแหงนหรืออาจสร้างเป็นจั่วเพิ่มอีกหนึ่งหลังต่อกัน โดยอาจมีพื้นที่ต่ำกว่าระดับของเรือนใหญ่ ใช้สำหรับเป็นที่พักผ่อนของสมาชิกในครอบครัว รับประทานอาหาร หรือต้อนรับเพื่อนบ้านที่มาเยือน
เรือนโข่ง เป็นเรือนที่สร้างแยกจากเรือนใหญ่ สามารถรื้อถอนได้ในภายหลัง สำหรับเรือนโข่งนั้นหากไม่มีเรือนไฟก็สามารถใช้พื้นที่เรือนโข่งเป็นห้องครัวได้
เรือนแฝด จะเป็นเรือนสำหรับเหมือนกับเรือนโข่ง แต่จะใช้โครงหลังคา พื้น ฝา ติดกับเรือนใหญ่
ชานแดด เป็นพื้นที่ที่ยื่นออกจากตัวบ้านหรือเรือนเกย ใช้เป็นพื้นที่ล้างภาชนะหลังรับประทานอาหาร จะมีโอ่งใส่น้ำไว้ใช้ ชานแดดจะใช้เป็นพื้นที่สำหรับตากพืชผลทางการเกษตรของครอบครัว
ระหว่างเรือนใหญ่จะมีชานแดดหรือสะพานเชื่อมไปยังเรือนไฟ
เรือนไฟ เป็นเรือนที่แยกออกจากเรือนใหญ่เพื่อใช้เป็นที่ประกอบอาหาร ทั้งนี้เพราะชาวผู้ไทยในอดีตจะใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้มอาหาร จึงต้องแยกเรือนไฟออกจากเรือนพักอาศัย โดยจะอยู่ติดกับชานแดดหรืออาจมีสะพานเชื่อมต่อกันระหว่างเรือนใหญ่กับเรือนไฟ
ภายในเรือนไฟจะมีกะบะไฟที่เรียกว่า “แม่คีไฟ” สำหรับก่อไฟ โดยยกพื้นสูงทำกรอบไม้ขนาดใหญ่แล้วนำดินมาเทลงเพื่อเป็นพื้นที่สำหรับหุงต้มอาหาร บริเวณรอบ ๆ จะมีไหปลาร้า กระปุกเกลือ ตลอดทั้งภาชนะสำหรับประกอบอาหารวางอยู่เรียงราย ด้านบนจะเป็นที่เก็บเมล็ดพันธุ์พืชต่าง ๆ เพื่อเตรียมสำหรับการเพาะปลูกในช่วงฤดูฝน ด้านล่างของเรือนไฟจะเป็นคอกหมู เล้าเป็ด เล้าไก่ ตลอดทั้งฟืนสำหรับไว้หุงต้ม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น